กรุณากรอกชื่อผู้ใช้

กรุณากรอกรหัสผ่าน
ลืมรหัสผ่าน

< พฤษภาคม  2567 >
อา พฤ
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31  

การจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

การจัดรูปที่ดิน หมายความว่า การดำเนินงานพัฒนาที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรมให้สมบูรณ์ทั่วถึงที่ดินทุกแปลง เพื่อเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต โดยทำการรวบรวมที่ดินหลายแปลงในบริเวณเดียวกันเพื่อวางผังจัดรูปที่ดินเสียใหม่ การจัดระบบชลประทาน และการระบายน้ำ การจัดสร้างถนน หรือทางลำเลียงในไร่นา การปรับระดับพื้นที่ดิน การบำรุงดิน การวางแผน การผลิตและการจำหน่ายผลิตผลการเกษตร รวมตลอดถึงการแลกเปลี่ยน การโอน การรับโอนสิทธิในที่ดิน การให้เช่าซื้อที่ดิน และการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดิน ตลอดจนการจัดเขตที่ดินสำหรับอยู่อาศัย

เกษตรกรรม หมายความว่า การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงผึ้ง เลี้ยงไหม เลี้ยงครั่ง เพาะเห็ด และการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

การจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หมายความว่า การพัฒนาพื้นที่ เพาะปลูกในระดับไร่นา โดยเน้นเรื่องน้ำเป็นประการสำคัญ เพื่อทุกแปลงที่เพาะปลูกได้รับน้ำชลประทานโดยทั่วถึงและมี ทางลำเลียงหรือถนนเข้าถึงทุกแปลง ปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ใช้ทำประโยชน์ได้สูงสุด โดยการจัดรูปร่างหรือโยก ย้ายแปลงเพาะปลูกเดิมเสียใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวก ต่อการทำการเพาะปลูก เช่นรูปร่างแปลงเดิมบิดเบี้ยว ก็จัด ใหม่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เกษตรกรที่มีที่ดินหลายๆแปลง แต่แยกกันอยู่ในบริเวณใกล้กัน ก็กลับเปลี่ยนย้ายที่ให้รวมเป็น แห่งเดียวติดต่อกันปรับระดับดินในแปลงเพาะปลูกที่สูง ๆ ต่ำ ๆ ให้สม่ำเสมอ จัดสร้างระบบชลประทานในระดับแปลงนา คือ คูส่งน้ำ คูระบายน้ำ ถนนหรือทางลำเลียง โดยให้ผ่าน แปลงเพาะปลูกทั่วถึงทุกแปลง เพื่อให้ทุกแปลงได้รับน้ำโดย จากคูส่งน้ำ คูระบายน้ำ ถนนหรือทางลำเลียง โดยให้ผ่าน แปลงเพาะปลูกทั่วถึงทุกแปลงเพื่อให้ทุกแปลงได้รับน้ำโดยตรงจากคูส่งน้ำและสามารถลำเลียงขนส่งผลผลิตจากไร่นาหรือ ถนนสายใหญ่ได้สะดวก นอกจากนี้ยังได้รวมงานพัฒนากิจกรรมต่างๆที่สนับสนุนการทำเกษตร เช่นการส่งเสริมการทำ เกษตร การสหกรณ์ ฯลฯ ไว้ในโครงการจัดรูปที่ดินอีกด้วย จากความหมายดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดรูปร่างหรือโยกย้ายแปลงเพาะปลูกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานจัดรูปที่ดินเท่านั้น แต่งานส่วนใหญ่ได้แก่การจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในไร่นาเพิ่มเติมขึ้น เช่น คูส่งน้ำ คูระบายน้ำ ถนนหรือทางลำเลียง อาคารชลประทานในคูส่งน้ำตลอดจนปรับระดับพื้นที่ในแปลงเพาะปลูก เพื่อให้ทุกแปลงได้รับความสะดวกในเรื่อง การรับน้ำ การระบายน้ำ และการลำเลียงขนส่งอย่างทั่วถึง สำหรับการโยกย้ายหรือจัดรูปร่างใหม่ด้วยนั้น ก็เพื่อความสะดวกในการวางระบบคูส่งน้ำ คูระบายน้ำ ถนนหรือทางลำเลียงให้เป็นแนวตรง เพื่อให้ใช้ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดรูปที่ดินนับว่าเป็นการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกที่ต่อเนื่อง จากการพัฒนาระบบชลประทานหลักที่ได้จัดสร้างคลองส่งน้ำสายใหญ่และสายซอยไว้แล้ว เพื่อให้น้ำชลประทานไปถึงหัวไร่ปลายนา ทั่วถึงทุกแปลง โดยหลักการแล้วการจัดรูปที่ดินไม่ได้เปลี่ยนแปลงขนาดการถือครองที่ดินที่เจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิในที่ดินอยู่เดิมแต่อย่างใด เพียงแต่เจ้าของที่ดินทุกรายต้องสละที่ดินบางส่วน( ไม่เกินร้อยละเจ็ดของจำนวนที่ดินที่มีอยู่เดิม ) เพื่อใช่สำหรับการก่อสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ใช้ร่วมกัน คือ คูส่งน้ำ คูระบายน้ำ ถนนหรือทางลำเลียง ในปัจจุบันมักได้ยินคำว่าปฏิรูปที่ดินเสมอ ถ้าจะพิจารณาผิวเผินดูแล้วเหมือนว่ามีลักษณะงานเป็นอย่างเดียวกัน แต่ความเป็นจริงแล้ว จุดประสงค์สำคัญของการจัดรูปที่ดินและการปฏิรูปที่ดินนั้นแตกต่างกันกล่าวคือ การจัดรูปที่ดินเป็นการพัฒนาที่ดินในไร่นาที่เกษตรกรมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้นอย่างเหมาะสมอยู่แล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น สามารถทำการเพาะปลูกได้สะดวกและมีประสิทธิภาพในการผลิตมากขึ้นดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นส่วนการปฏิรูปที่ดินนั้น เป้าหมายสำคัญอยู่ที่ว่าต้องการกระจายสิทธิการถือครองที่ดินให้เหมาะสม โดยแบ่งจากผู้ไม่ได้ใช้ที่ดินทำการเกษตรด้วยตนเอง หรือจากผู้ที่มีที่ดินเกินความจำเป็น ไปให้เกษตรผู้เช่า ผู้ไร้ที่ทำ กินหรือมีที่ดินน้อยไม่เพียงพอแก่การทำกินให้มีที่ดินเป็นของตนเองหรือเป็นกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรต่างๆ แต่ถ้าที่ดินดังกล่าวนั้นยังมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะทำการเพาะปลูกได้ดีเท่าที่ควร ก็ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นตามความเหมาะสมต่อไป